บล.พาย:
GGC: คาดถึงการเติบโตที่ซบเซาใน 2H22
การประชุมนักวิเคราะห์ให้น้ำหนักเชิงลบ คงคำแนะนำ “ถือ” แต่ลดมูลค่าพื้นฐานลง 9% เป็น 13.00 บาท ซึ่งจาก 1.27xPBV’22E ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยกลุ่มเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่น แนะนำหาจังหวะเทรด เนื่องจากการที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) และน้ำมันเมล็ดในปาล์ม (CPKO) ปรับสูงขึ้นอาจสร้างโอกาสในการเทรดระยะสั้น เพื่อการเติบโตจะซบเซาใน 2H22 ได้
- ประเมินทิศทางกำไรที่ชะลอลง QoQ ใน 2Q22 สืบเนื่องจากแรงกดดันจากการเปลี่ยนนโยบายไบโอดีเซล B5 รวมถึง ปัจจัยตามฤดูกาลที่จะไปกระทบอุปสงค์ต่อไบโอดีเซล แม้มีการคลายล็อกดาวน์แล้วก็ตาม แต่ก็คาดว่าจะมีกันชนจากราคา B100 ที่สูงขึ้น
- คาดอุปสงค์ FA ใน 2Q22 จะยังทรงตัว ด้วยแรงหนุนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่เติบโตขึ้น และราคาของสินค้าทดแทนที่สูงขึ้น
- ขณะที่คาดว่ากำไรจะมีทิศทางลดลงใน 2H22 เพราะความกังวลระดับมหภาคที่ลดลงจะไปกระตุ้นปริมาณการผลิต สต็อก CPO และ CPKO ขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตรากำไรหดตัวลง
- โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ 1 มีการเลื่อนกำหนดการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) เป็น 1Q23 จาก 1Q22 อิงข้อมูลจากผู้บริหาร
ประเด็นสำคัญจากการประชุม
- ผู้บริหารปรับลดภาพรวมเชิงบวกที่มีต่อการเติบโตของอุปสงค์ในกลุ่มเมทิลเอสเตอร์ (ME) และแฟตตี้แอลกอฮอล์ (FA) ใน 2Q22 ลง
- ด้วยคาดการณ์ว่าอุปสงค์ ME ใน 2Q22 จะเผชิญกับแรงกดดันจากการที่รัฐบาลไทยลดสัดส่วนผสมจาก B7 เป็น B5 ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. 2022 และมีโอกาสปรับลดลงเป็น B3 ยิ่งกว่านั้น การที่รัฐบาลยกเลิกเพดานราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (HSD) ที่ 30 บาท/ลิตร จะทำให้ต้นทุนการขนส่งปรับสูงขึ้น ซึ่งจะยิ่งไปบั่นทอนอุปสงค์ดีเซลโดยรวมลง แม้ราคา CPO ยังอยู่ในระดับสูง แต่ก็จะได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ที่ลดลง จากสัดส่วนผสมน้ำมันที่ลดลงดังกล่าว พร้อมกับคาดการณ์ที่ว่าอุปทานในประเทศจะปรับสูงขึ้น
- คาดอุปสงค์ต่อ FA จะทรงตัวจากสภาวะอุปทานที่ตึงตัว หลังจากกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่อย่างอินโดนีเซียและมาเลเซียทำการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ที่คล้ายกัน คือ สภาวะข้อจำกัดในการส่งออกน้ำมันปรุงอาหารของอินโดนีเซียจะทำให้อุปสงค์ปรับสูงขึ้นในระยะสั้น แต่ราคา CPKO จะยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากอุปทานในประเทศที่สูงขึ้น ซึ่งอิงข้อมูลจากผู้บริหาร ทั้งนี้ควรบันทึกว่า CPKO ไม่ได้อยู่ภายใต้รายชื่อการแบนตามนโยบายข้อบังคับตลาดภายในประเทศอินโดนีเซีย (DMO) ซึ่งถือเป็นผู้ส่งออกปาล์มรายใหญ่ที่สุด ดังนั้นอุปทานโลกที่สูงขึ้นน่าจะส่งผลกระทบต่อราคาด้วยเช่นกัน
เลื่อนโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ 1
- โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ 1 มีการเลื่อน COD เป็น 1Q23 จาก 1Q22 อิงข้อมูลจากผู้บริหาร
- ด้วยการที่โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ 2 ยังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมความพร้อม มูลค่าที่อาจเกิดขึ้นจึงน่าจะไหลเข้ามาในระยะยาว
2Q22 และหลังจากนั้นมีภาพรวมที่ท้าทาย
- ประเมินทิศทางกำไรที่ชะลอลง QoQ ใน 2Q22 สืบเนื่องจากแรงกดดันจากการเปลี่ยนนโยบายไบโอดีเซล B5 รวมถึงปัจจัยตามฤดูกาล (มรสุม) ที่จะไปกระทบอุปสงค์ต่อไบโอดีเซล แม้มีการคลายล็อกดาวน์แล้วก็ตาม แต่ก็คาดว่าจะมีกันชนจากราคา B100 ที่สูงขึ้นจากราคา CPO ที่ทยานตัวขึ้น
- คาดอุปสงค์ FA ใน 2Q22 จะยังทรงตัวด้วยแรงหนุนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่เติบโตขึ้น และราคาของสินค้าทดแทนที่สูงขึ้น
- ขณะที่คาดว่ากำไรจะมีทิศทางลดลงใน 2H22 เพราะความกังวลระดับมหภาคที่ลดลงจะไปกระตุ้นปริมาณการผลิตสต็อก CPO และ CPKO ขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตรากำไรหดตัวลงจากขาดทุนสต็อก
ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2022-24 ในกรอบ 5%-29%
การปรับเพิ่มประมาณการครั้งนี้สะท้อนถึงการเติบโตของรายได้ที่สูงขึ้น ด้วยการปรับเพิ่มสมมติฐานรายได้ปี 2022 ขึ้น 26% หนุนจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ที่สืบเนื่องจากราคา CPO และ CPKO ที่พุ่งสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็ปรับเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ขึ้น 20bps YoY หนุนจากราคาที่สูงขึ้น และการปรับเพิ่มสมมติฐานปริมาณที่สูงขึ้น
คาดกำไรปี 2023 จะโตขึ้น 5% จากการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาผลิตภัณฑ์และปริมาณที่สูงกว่าคาดการณ์เดิม แต่ถือเป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอลง สืบเนื่องจากราคาที่ลดลงจากระดับในปี 2021 ขณะที่ประเมินว่ากำไรปี 2024 จะโตขึ้น 23% ตามสาเหตุเดียวกับที่กล่าวข้างต้น แต่คาดว่าตัวเลขปริมาณจะยืนเหนือระดับปี 2019 อยู่เล็กน้อย
กำไร 1Q22 ฟื้นตัวอย่างน่าประทับใจ
- กำไรปกติ 1Q22 อยู่ที่ 465 ล้านบาท (+367%YoY, +34%QoQ) สาเหตุที่โตขึ้นอย่างมาก YoY มาจากอัตรากำไรการดำเนินงานที่ยืดหยุ่น และแข็งแกร่งจากการคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กำไร 1Q22 อยู่ที่ 487 ล้านบาท พลิกฟื้นจากขาดทุนสุทธิใน 4Q21 ด้วยแรงหนุนจาก EBIT margin ที่แข็งแกร่ง และการขาดหายไปของรายการผลขาดทุนพิเศษ เช่น จากคดีฟ้องร้อง
- อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ทรงตัว 10% ขณะที่มีกำไรสต็อกน้ำมันทั้งหมดที่ 246 ล้านบาท
- รายได้ 7.3 พันล้านบาทพุ่งสูงขึ้น 47%YoY และ 19%QoQ ตามธุรกิจ ME และ FA ที่แข็งแกร่งขึ้น
- รายได้ธุรกิจ ME อยู่ที่ 5 พันล้านบาท (+18%YoY, +12%QoQ) ทั้ง YoY และ QoQ ได้แรงหนุนจากราคา B100 ที่สูงขึ้น (+30% YoY, +15%QoQ)
- รายได้ธุรกิจ FA อยู่ที่ 2.3 พันล้านบาท (+218%YoY, +36%QoQ) ที่พุ่งขึ้น YoY เป็นผลจากราคาและ ปริมาณที่โตขึ้นถึง 65%YoY และ 77%YoY ตามลำดับ
Revenue breakdown
เมทิลเอสเทอร์ (ME) หรือที่รู้จักกันในชื่อ B100 คือสารที่ใช้ผสมผสานกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพื่อให้ได้มาซึ่งไบโอดีเซล โดยบริษัทได้จัดจําหน่าย ME ให้กับลูกค้าในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหน่วยธุรกิจนี้คิดเป็น 73% ของรายได้ทั้งหมดของ GGC ในปี 2021
แฟตตี้แอลกอฮอล์ธรรมชาติ เป็นผลผลิตที่ได้มาจากการสกัดน้ำมันเมล็ดในปาล์ม โดยแฟตตี้แอลกอฮอล์ (FA) คือส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เครื่องหนัง และพลาสติก ซึ่งคิดเป็น 27% ของยอดขายทั้งหมดของ GGC
GGC จัดจำหน่ายกลีเซอรีนบริสุทธิ์ให้กับกลุ่มผู้ผลิต และซัพพอลายเออร์ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลทั้งในและต่างประเทศ เช่น จีน เกาหลี และอินเดีย
นอกจากนี้ กระบวนการผลิต ME ยังให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จำพวกเคมีภัณฑ์อย่างอื่นด้วย เช่น กลีเซอรีนดิบ กลีเซอรีนสีเหลือง โพแทสเซียมซัลเฟต กากเมทิลเอสเทอร์ และกากแฟตตี้แอลกอฮอล์