บล.พาย:
RATCH: กำลังการผลิตใหม่จะชดเชยผลลดทอน EPS
การประชุมนักวิเคราะห์ให้น้ำหนักเป็นบวก คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 48.0 บาท คำนวนด้วยวิธีรวมส่วนธุรกิจ (SOTP) อิง 9.0xPE’22E
- คาดกำไร 2Q22 ปรับดีขึ้น QoQ จาก 1) ส่วนแบ่งกำไรที่สูงขึ้นจาก HPC และ 2) ส่วนแบ่งกำไรจากการเริ่ม ดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าพลังก๊าซแห่งใหม่ขนาด 145MWe ใน 1Q22 ขณะที่คาดว่าส่วนแบ่งกำไรเต็มไตรมาสจากโครงการที่ COD ใน 1Q21-1Q22 ด้วยกำลังการผลิตรวม 476MWe จะช่วยหนุนในเชิง YoY
- เล็งเห็นภาพรวมปี 2022-25 ที่สดใส เพราะ 1) มีกำไรที่โตอย่างมั่นคงด้วยแรงหนุนจากการขยายกำลังการผลิต โรงไฟฟ้าขึ้น 28% และ 2) สัดส่วนพลังงานทดแทนที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยขจัดความกังวลด้าน ESG และเอื้อต่อการปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น
- บริษัทประกาศข้อมูลชุดสุดท้ายเกี่ยวกับแผนการเพิ่มทุนออกมาแล้ว โดยจะมีการออกหุ้นจำนวน 725 ล้านหุ้นใน อัตราส่วน 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ด้วยราคาเสนอขายที่ 34.48 บาท วันจองซื้อตั้งแต่ 6-10 มิ.ย. 2022 (5 วันทำการ)
- คาดถึงผลลดทอนมูลค่าหุ้นเล็กน้อยจากการเพิ่มทุนครั้งนี้ คาดว่าการรับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้า Paiton ตั้งแต่ 3Q22 เป็นต้นไป และการลงทุนในโครงการอื่นที่เดินเครื่องอยู่แล้วด้วยเป้าหมาย 700MWe ในปี 2022 จะช่วยชดเชยผลลดทอนกำไรต่อหุ้นได้ (EPS dilution)
ภาพรวมการเติบโตดี จากการขยายกำลังการผลิตขึ้น 28% ภายในปี 2025
- คาดกำไร 2022 ปรับดีขึ้น QoQ จาก 1) ส่วนแบ่งกำไรที่สูงขึ้นจาก HPC หลังจากมีการปิดซ่อมบำรุงใน 1Q22 และ 2) ส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าพลังก๊าซแห่งใหม่อย่าง Riau ขนาด 145MWe ในที่เริ่ม COD 1Q22 ขณะที่คาดว่าส่วนแบ่งกำไรเต็มไตรมาสจากโครงการที่ COD ใน 1Q21-1Q22 ด้วยกำลังการผลิตรวม 476MWe จะช่วยหนุนในเชิง YoY
- คงมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมปี 2022 ด้วยแรงหนุนจากการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าขึ้น 18% YoY คาดกำไรฟื้นตัวตั้งแต่ 2Q22 เป็นต้นไป หลังจากมีผลการดำเนินงานอ่อนแอใน 1Q22 นอกจากนี้บริษัทจะรับรู้รายได้ทั้งปีจากโครงการที่ COD ในช่วง 1Q-2Q21 (โรงไฟฟ้าพลังลม Yandin และ Collector ภายใต้ RAC ในออสเตรเลีย) ขนาดรวม 331 MWe และรายได้บางส่วนจากโครงการใหม่ขนาด 235 MWe ที่ COD ในปี 2022 ยิ่งกว่านั้นยังเล็งเห็น upside ต่อกำไรจากการลงทุนใหม่ในโรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน Paiton ขนาด 2.0GW (ถืออยู่ 45%) ที่จะแล้วเสร็จภายใน 3Q22
- บริษัทยังคงเป้าหมายการขยายพอร์ตที่ 10.0GWe ภายในปี 2025 (+10% จากปัจจุบันที่ 9.2GWe) ซึ่งจะชดเชยส่วนที่หมดอายุลงของโครงการ RG ขนาด 3.6 GW ในปี 2025 นอกจากนี้บริษัทตั้งเป้าที่จะลดสัดส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิล และเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนขึ้นเป็น 40% จากปัจจุบันที่ 15% ของพอร์ตทั้งหมดภายในปี 2035
- เล็งเห็นภาพรวมปี 2022-25 ที่สดใสเพราะ 1) มีกำไรที่โตอย่างมั่นคง ด้วยแรงหนุนจากการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าขึ้น 28% และ 2) สัดส่วนพลังงานทดแทนที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยขจัดความกังวลด้าน ESG และเอื้อต่อการปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น
ผลกระทบเชิง dilution ที่จำกัดจากการเพิ่มทุน
- บริษัทประกาศข้อมูลชุดสุดท้ายเกี่ยวกับแผนการเพิ่มทุนออกมาแล้ว โดยจะมีการออกหุ้นจำนวนล้านหุ้นใน 725 อัตราส่วน 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ด้วยราคาเสนอขายที่ 34.48 บาท วันจองซื้อตั้งแต่ 6-10 มิ.ย. 2022 (5 วันทำการ)
- เงินสดที่ได้รับเกือบ 2.50 หมื่นล้านบาทจะนำไปลงทุนในโรงไฟฟ้า Paiton ในอินโดนีเซีย (ถืออยู่ 45% ขนาด 2.0GW) และโครงการอื่นที่เดินเครื่องอยู่แล้ว (เป้าหมาย 700MWe ในปี 2022) ซึ่งคาดว่าจะช่วยชดเชย EPS dilution ได้เกือบทั้งหมด
สรุปผลประกอบการ
- กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 1.6bn (-24% YoY, -26% QoQ) สอดคล้องกับที่เราและตลาดคาด
- หากไม่รวมรายการพิเศษครั้งเดียว กำไรปกติจะอยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท (-36% YoY, -41% QoQ) กำไรที่ลดลงมีสาเหตุมาจากอัตรากำไรโครงการ SPP ที่ลดลงจากต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้น และส่วนแบ่งกำไรจาก HPC ที่ลดลง
- รายได้โตแตะ 1.69 หมื่นล้านบาท (+138% YoY, +37 QoQ) หนุนจากค่าพลังงานไฟฟ้าจาก RG ที่ปรับดีขึ้นหลังต้นทุนเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้น (ก๊าซธรรมชาติ) และการรับรู้รายได้เต็มไตรมาสจากโรงไฟฟ้าพลังลม Collector (เริ่ม COD ใน 2Q22) และ SCG ที่เข้าซื้อใน 4Q21
- GPM ลดลงเหลือ 8% จาก 14% ใน 1Q21 เป็นเพราะอัตรากำไรในโครงการ SPP ที่ลดลง เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น
- ส่วนแบ่งกำไรอยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท (-16% YoY, +25% QoQ) ฉุดจากส่วนแบ่งกำไรจาก HPC ที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน
Revenue breakdown
ธุรกิจหลักของ RATCH คือการผลิตและจําหน่ายไฟฟ้า รวมถึงให้บริการบริหารจัดการและเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการต่างๆ บริษัทมีการดำเนินงานโดยตรงผ่านบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (RG) ด้วยกำลังการผลิตที่ 3,645 MW ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าอิสระราย (IPP) ใหญ่ที่สุดในไทย ทั้งยังถือหุ้น 100% ในบริษัท RATCH Australia Corporation (RAC) ที่ดำเนินงานโครงการด้วยแหล่งพลังงานประเภทต่างๆ รวมถึงพลังลม พลังแสงอาทิตย์ และพลังงานร่วม (Cogeneration)
รายได้จากโครงการ RG และ RAC รวมกันคิดเป็น 84% ของรายได้รวมในปี 2021 หากแบ่งสัดส่วนรายได้ตามแหล่งพลังงานพบว่ามีรายได้ 80% มาจากโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิล (ก๊าซและถ่านหิน) ที่เหลืออีก 20% มาจากโครงการพลังงานทดแทน (พลังแสงอาทิตย์ ลม และน้ำ)