สรุปภาวะตลาด

วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกตลอดช่วงการซื้อ-ขาย จากแรงซื้อหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน และค้าปลีก นักลงทุนติดตามตัวเลข CPI ของสหรัฐ โดยตลาดคาดขยายตัวราว 4.1%YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.9%YoY เพื่อดูทิศทางของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ และติดตามการประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ยของเฟด ในช่วงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,562.40 จุด +10.99 จุด +0.71% มูลค่าการซื้อขาย 41,920 ลบ. ต่างชาติ +592.16 ลบ. TFEX +9,518 สัญญา ตราสารหนี้ -205.13 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิด เพิ่มขึ้น 145.79 จุด หรือ +0.43% ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดที่ระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือน หลังสหรัฐเปิดเผย CPI ล่าสุดในรอบ 2 ปี ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า เฟดจะไม่รับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย.

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI พุ่งขึ้น 2.30 ดอลลาร์ +3.43% ปิดที่ 69.42 ดอลล่าร์/บาร์เรล หลังจากจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ทำให้นักลงทุนมี ความหวังว่าเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันของจีนจะฟื้นตัว

+ สหรัฐเปิดเผยดัชนี CPI ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงานปรับตัวขึ้น +4.0% yoy +0.1%mom ในเดือนพ.ค. ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2564 และสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ +4.9%yoy +0.49%mom ในเดือนเม.ย.

+ นักลงทุนเทน้ำหนักเกือบ 100% ต่อคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะประกาศคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงิน ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 96.4% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. และให้น้ำหนักเพียง 3.6% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50%

+ ธนาคารกลางจีนอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ 2 พันล้านหยวน (279.97 ล้าน ดอลลาร์) ผ่านทางข้อตกลง reverse repurchase ระยะ 7 วัน และปรับลดอัตราดอกเบี้ย reverse repurchase rate ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.9% จาก ระดับ 2% ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ เตือนส.ค. 2565

+ จีนกำลังพิจารณาที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง หลังจากรัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เผชิญกับแรงกดดันมากขึ้น เพื่อเร่งออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่อ่อนแรงลงอย่างมากในขณะนี้

+ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้กระทรวงการคลังหาแนวทางการปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลต่อเป็นระยะเวลาอีก 2 เดือน เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชน หลังจากที่มาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซลลิตรละ 5 บาทจะสิ้นสุดในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้

ปัจจัยลบ-

– สํานักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า จีนเริ่มต้นการซ้อมรบในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของไต้หวัน ซึ่งรวมถึงการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงจากเรือรบ ขณะที่สหรัฐและชาติพันธมิตรใต้ดำเนินการซ้อมรบอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

– ม.หอการค้าไทยหวั่นอียูเก็บภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดน หรือ ซีแบม กระทบสินค้า 6 ประเภท ดันต้นทุนธุรกิจพุ่ง 4.5 แสนล้านเหรียญ/เดือน ผู้ประกอบการเร่งปรับตัวรับมาตรการกีดกันการค้า

– ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ชี้เศรษฐกิจไม่ดี รอตั้งรัฐบาลใหม่และลุ้นมาตรการรัฐกระตุ้นกำลังซื้อ ส่งผลให้ตลาดเช่าเงียบเหงา คนแห่ขายบ้าน ทาวน์เฮาส์ คอนโด จนที่พักอาศัยมือ 2 ท่วมตลาดกว่า 1.6 แสนหน่วย กว่ามูลค่า 9 แสนล้านบาท

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสปรับตัวขึ้นตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีแรงหนุนจากสหรัฐเปิดเผย CPI ต่ำสุดในรอบ 2 ปี ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ดีดตัวขึ้นแรงหนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน มองกรอบดัชนีในวันนี้ 1,555-1,570 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นปันผลดี : TISCO INTUCH, หุ้นเด่นเกาะ Megatrend : BE8 BBIK GABLE , หุ้นยั่งยืน : EA WAVE, หุ้นเติบโตใน EEC : AMATA WHA ORI, หุ้นพื้นฐานเด่น : PJW XO
  • สินค้าส่งออกเดือน เม.ย. ที่ยังขยายตัวได้ดี : GFPT TFG
  • หุ้นเข้า FTSE SET Index : Large Cap เข้า MAKRO TRUE ออก BEM DIF Mid Cap เข้า BEM BTG DIF ITC SAPPE SISB SNNP SCAP ออก CPNREIT RAM SINGER TRUE VIBHA XPG มีผล 19 มิ.ย.

หุ้นรายงานพิเศษ

PJW (ราคาเหมาะสม 7.00 บาท) มี Backlog รองรับผลประกอบการ

  • คาดผลประกอบการปี 23 เติบโตต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนจากเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว นอกจากนี้บริษัทยังได้เข้าซื้อธุรกิจ Laundry ในช่วงปลายปี 22 ที่ผ่านมา และมีแผนขยายเข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จากพลาสติก ซึ่งจะเป็น New S-Curve ใหม่ คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปลายปีนีถึงต้นปีหน้า ยังไม่รวมในประมาณการ) เราประมาณการรายได้และกำไรสุทธิปี 23 ราว 3,671.9 ล้านบาท และ 188.2 ล้านบาท เติบโต +9.9%YoY และ +125.4%YoY ตามลำดับ
  • ในปีนี้ บริษัทได้วางงบลงทุนไว้ประมาณ 300 ล้านบาท แบ่งการลงทุนเป็น 3 ส่วน ได้แก่ กลุ่ม ธุรกิจ Laundry โดยจะเป็นการลงทุนในเรื่องของระบบออโตเมชั่น เพื่อประสิทธิภาพของเครื่องจักร ขณะที่ลงทุนในไลน์ผลิตในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ที่ปัจจุบันกำลังกลับมาฟื้นตัว และเชื่อว่าในอนาคตจะยังคงทิศทางที่เติบโตต่อเนื่อง และรองรับการขยายตัวของกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคต ทั้งนี้ปัจจุบัน มี Backlog จากกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ต่อเนื่องไปถึงปี 2025
  • ความเห็น : เรามองว่าผลประกอบการได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 22 ที่ผ่านมา ประเมินราคาเหมาะสม อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 5 ปีที่ระดับ 21 เท่า ได้ราคาเหมาะสมปี 23 เท่ากับ 7.00 บาท เริ่มต้นคำแนะนำ “ซื้อ”

หุ้นมีข่าว

(+) ACE (Bloomberg consensus 3.76 บาท) เดินหน้าบุกโรงไฟฟ้าเวียดนาม ทั้งเทกโอเวอร์จากกลุ่มอสังหาที่ต้องการขาย เล็งขอ PPA ตามแผนผลิตไฟฟ้า 1.5 แสนเมกะวัตต์ ภาพขัดไทยต้องสร้างโรงไฟฟ้าหมุนเวียน เล็งประมูลเพิ่มหลังคว้าโซลาร์แล้ว 112 เมกะวัตต์ พื้นฐานสุดแกร่ง สร้างกระแสเงินสดปีละ 2-3 พันล้านบาท แต่พี/อีต่ำเพียง 12 เท่า รับรู้รายได้โรงไฟฟ้าใหม่ปลายปี ไม่เกินปี 2568 กำลังผลิตพุ่ง (ที่มา ทันหุ้น)

(+) NER (Bloomberg consensus 7.10 บาท) รับอานิสงส์จากภัยแล้งและราคายางขาขึ้น หนุนไตรมาส 2/2566 เติบโตใกล้เคียงกับไตรมาส 1/2566 พร้อมล็อกเป้า ลุยตลาดจีนเพิ่ม รับเทรนด์ความต้องการตลาดรถอีวีพุ่ง เผยเตรียมรับมือภาวะเอลนีโญ หลังคาดปริมาณน้ำฝนลดลงถึง 5% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) NYT (Bloomberg consensus 4.50 บาท) แย้มปริมาณรถผ่านท่าเทียบเรือกลับมาพุ่งแตะ 9 หมื่นคัน ในเดือนพฤษภาคม 2566 คาดทั้งปีดีต่อเนื่อง พร้อมนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น จากปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจคลังสินค้าปัจจุบันเจรจาลูกค้าต่อเนื่อง หนุนทั้งปีคาดรายได้โต 8% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) STP (Bloomberg consensus – บาท) ส่งสัญญาณยอดขายไตรมาส 2/2566 ดีกว่าไตรมาสแรก ลูกค้า ทยอยป้อนออเดอร์ ทุ่ม 290 ล้านบาท เดินหน้าติดตั้งเครื่องจักร อัพกำลังผลิตเพิ่ม 50% ด้านผู้บริหารเปิดกลยุทธ์ครึ่งปีหลัง รุกทำการตลาด เร่งเครื่องส่งโปรดักต์ใหม่ลงตลาดโกยยอดขายเพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 14 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุม กนง.ฉบับย่อ และรายงานนโยบายการเงิน
    • ธปท. จัดงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 2/2566
    • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
    • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
    • สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
  • 30 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 13 ก.ค. กกต.รับรองผลเลือกตั้งวันสุดท้าย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 13-14 มิ.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ทราบผลเช้าวันที่ 15 มิ.ย. เวลาในประเทศไทย)
  • 14 มิ.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสํานักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • (เช้าวันที่ 15 มิ.ย.) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประชุมนโยบายการเงิน และแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
  • 15 มิ.ย. จีน รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค. ยอดค้าปลีก เดือนพ.ค.
    • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย
    • สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค. ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนมิ.ย.จากเฟดนิวยอร์ก
  • 16 มิ.ย. อียู รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.
    • สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนมิ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
  • 22 มิ.ย. นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงเกี่ยวกับนโยบายการเงินของสหรัฐต่อคณะกรรมการธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐ
- Advertisement -