KS Daily View 14.06.2023 >>> เงินเฟ้อสหรัฐฯ ลดลง มองตลาดตอบรับเชิงบวก SET คาดแกว่งตัวขึ้นในกรอบ 1,555-1,565/1,585 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ PTTEP, BANPU

สรุปภาวะตลาดเมื่อวันวานนี้

ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA +0.43%, S&P 500 +0.69%, NASDAQ ++0.83% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ Material (+2.33%), Industrial (+1.16%), Consumer discretionary (+1.00%) ส่วน Utilities (-0.06%)

ในประเทศ: SET Index +10.99 pts. หรือ +0.71% เป็น 1,562.40 จุด ตัวขับเคลื่อนหลักสำคัญคือ DELTA (+2.3%), PTTEP (+1.7%), GULF (+1.1%), IVL (+3.0%) ตัวฉุดคือ BDMS (-0.9%), BAY (-1.5%), SNNP (-3.7%), SPRC (-2.2%)

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: คาดดัชนีแกว่งตัวขึ้นในกรอบ 1,555-1565/1585 จุด มองตลาดตอบรับเชิงบวกจากประเด็นการเมืองภายในประเทศและตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯที่ออกมาปรับตัวลดลงต่อเนื่องส่งผลให้มีโอกาสสูงที่ Fed จะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบการประชุม FOMC ช่วงข้ามคืนวันพุธนี้

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) ตลาดน่าจะตอบสนองเชิงบวกกับความหวังเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลที่อาจสามารถทำได้เร็วกว่ากำหนดเดิมหลังวานนี้ทางที่ประชุมกกต.เริ่มมีการรับรองส.ส.เขตไปแล้วประมาณ 100 คน โดยจะมีการรับรองต่อในวันนี้สำหรับส.ส.บัญชีรายชื่อ คาดว่าภายในเดือนมิ.ย. จะสามารถรับรองได้ครบ 95% หรือ 475 คนเพื่อให้เปิดสภา อย่างไรก็ดี ทางกกต.เผยยังไม่ได้ถือเป็นการประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ เนื่องจากต้องรอประมวลความเห็นของทางผู้ตรวจการเลือกตั้ง แต่ประมวลความเห็นของผู้ตรวจมีแนวโน้มว่าจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จและส่งกลับมายังที่ประชุมกกต.ให้พิจารณาได้ภายในอาทิตย์หน้า ซึ่งหากไม่มีประเด็นอะไรที่ต้องดำเนินต่อกกต.ก็อาจสามารถประกาศรับรองส.ส.ได้อย่างเป็นทางการซึ่งคาดว่าจะทำได้ราวในอาทิตย์หน้านี้

2.) สหรัฐฯรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) ของเดือนพ.ค. ชะลอตัวลงต่อเนื่องสู่ระดับ 4.0% YoY เทียบ 4.9% YoY ในเดือนก่อนหน้าและต่ำกว่าตลาดคาดที่ 4.1% YoY ขณะที่อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคที่ไม่รวมหมวดราคาพลังงานและอาหารก็ปรับตัวลดลงเหลือ 5.3% YoY จาก 5.5% YoY ในเดือนก่อนหน้าและใกล้เคียงกับที่ตลาดประเมินไว้ที่ 5.2% YoY เรามองเป็นบวกต่อแวดล้อมการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเนื่องจากมีโอกาสสูงขึ้นที่ Fed จะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบประชุม FOMC ช่วงข้ามคืนวันพุธนี้

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

เลือกหุ้นกลุ่ม Global play ที่ก่อนหน้านี้ปรับตัวลงมาเยอะจน valuation เริ่มน่าสนใจคาดว่าจะได้ประโยชน์จากการ Restocking รอบใหม่บนมุมมอง Soft Landing และโอกาสที่จีนจะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ผสานกับกลุ่ม Finance และ Quality growth ที่ได้ sentiment บวกจากโอกาสที่ Fed จะชะลอ หรือหยุดขึ้นดอกเบี้ย ได้แก่ IVL (ราคาพื้นฐาน 37 บาท), PTTGC (ราคาพื้นฐาน 46.70 บาท), HANA (ราคาพื้นฐาน 49 บาท), TIDLOR (ราคาพื้นฐาน 30 บาท), และ BE8  (ราคาพื้นฐาน 69.68 บาท) เป็นต้น

หุ้นแนะนำวันนี้

PTTEP (ราคาพื้นฐาน 160 บาท) ราคาน้ำมัน Brent ปรับตัวขึ้น 3% DoD เป็น US$74.06/bbl หลังจีนประกาศลดดอกเบี้ยระยะสั้นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน

BANPU (ราคาพื้นฐาน 9.4 บาท) องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (NOAA) เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ประเมินว่าปรากฎการณ์ El Nino จะดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงหน้าหนาวนี้ด้วยความน่าจะเป็น 56% ทำให้มีโอกาสที่หน้าหนาวจะหนาวขึ้นกว่าปกติ มองจะเป็นบวกกับทิศทางราคาก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินซึ่งเป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้า โดยล่าสุดราคาก๊าซธรรมชาติที่ยุโรปปรับตัวขึ้น 16% DoD และ 45% WoW เป็น 36 ยูโรต่อ MWh ขณะที่ราคาถ่านหินปิดลบเล็กน้อย ดังนี้หากราคาถ่านหินปรับตัวขึ้นตามก๊าซธรรมชาติจะเป็นโอกาสในการเก็งกำไรหุ้น BANPU ที่ราคาปัจจุบันซื้อขายบน P/E ปีนี้ที่ 5x และ PBV 0.6x

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันพุธ ติดตาม การประชุมธนาคารกลางของสหรัฐฯ FOMC โดยตลาดประเมิน Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25% ซึ่งตลาดมองเป็นการสิ้นสุดรอบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed หลังมีการปรับขึ้นมาต่อเนื่องนับตั้งแต่ มี.ค. 2022 กอปรกับแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
  • วันพฤหัสฯ มีหลายปัจจัยต้องติดตาม เริ่มจากช่วงเย็นมีการประชุมธนาคารกลางของยุโรป ECB ตลาดคาดจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 25bps จาก 3.75% เป็น 4.00% ตามด้วยตัวเลขค้าปลีกของสหรัฐ (retail sales) ตลาดมองทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (เทียบจาก +0.4% MoM ในเดือนเม.ย.) และตัวเลขภาคการผลิตของสหรัฐฯรายภูมิภาค Empire State และ Philly Fed manufacturing index ตลาดมองที่ -15.6% (เทียบจาก -31.8% ในเดือนก่อนหน้า) และ -12.3% (เทียบจาก -10.4% ในเดือนก่อนหน้า) ตามลำดับ
  • วันศุกร์ ติดตาม การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตลาดคาดยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ -0.10% Monetary policy divergence ของ BOJ ที่ยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ขณะที่ธนาคารกลางอื่นทั่วโลกต่างปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังคงเป็น trading theme หลักที่ทำให้ดัชนี Nikkei ปรับตัวเพิ่มขึ้นและค่าเงิน JPY อ่อนค่าลง การประชุมรอบนี้มีความสำคัญในการติดตามว่า policy stance ของ BOJ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
- Advertisement -