รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

Window Dressing หวังได้น้อย SET ผันผวน
Top Pick เลือก ADVANC, GPSC และ MCS
คาด SET Index อยู่ในภาวะผันผวน พอร์ตจำลง ให้ขายทำกำไรหุ้น AS ลดน้ำหนัก PTTEP ลง 5% และเข้าซื้อ MCS 5% GPSC 10% สถานะการถือครองเงินสดอยู่ที่ 20% Top Pick เลือก ADVANC, GPSC และ MCS
การเคลื่อนไหวของ SET Index ช่วงสิ้นไตรมาสมักจะมีความผันผวนเป็นธรรมดา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมี Future ที่ครบสัญญญา และยังมีความคาดหวังเรื่องการทำ Window Dressing เข้ามาอีกส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันเชื่อว่าโอกาสเกิด Window Dressing มีไม่มากเท่าไร
ส่วนหลังจากหมดช่วงนี้ไปปัจจัยพื้นฐานที่มีน้ำหนักในเชิงลบ เฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากการระบาดของ Covid 19 สายพันธ์ Delta ในประเทศที่รุนแรงจะเข้ามาสร้างแรงกดดัน ทั้งในส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจ และ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ส่วนทิศทางของ Fund Flow ต่างประเทศก็ยังไม่น่าจะมีเข้ามาจากการที่เงินบาทอ่อนค่า
คาด SET Index อยู่ในภาวะผันผวน พอร์ตจำลง ให้ขายทำกำไรหุ้น AS ลดน้ำหนัก PTTEP ลง 5 และเข้าซื้อ MCS 5% GPSC 10% สถานะการถือครองเงินสดอยู่ที่ 20 Top Pick เลือก ADVANC, GPSC และ MCS

ครม. อนุมัติมาตรการเยียวยา 8.5 พันล้านบาท แต่เชื่อตลาดให้น้ำหนักกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่า
การระบาดของ COVID-19 ในประเทศยังน่ากังวลจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ (New case) ยังทรงตัวสูงกว่าจำนวนผู้รักษาหาย (Recovered case) ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่างรักษา (Active case) เพิ่มขึ้นต่อ โดยปัจจุบันมีจำนวน 4,7481 ราย (ดังรูป) รวมไปถึงความกังวลจาก COVID-19 สายพันธุ์ Delta (พบครั้งแรกที่อินเดีย) ที่แพร่กระจายได้เร็ว และผู้ติดเชื้อมีอาการรุนแรง (ปัจจุบันมีผู้ป่วยอาการหนักจำนวน 1,846 ราย เพิ่มขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนที่ 1,603 ราย)

ขณะที่การฉีดวัคซีนยังเดินหน้าได้ค่อนข้างช้า แม้ล่าสุดการฉีดวัคซีนจะกลับมาเร่งตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.69 แสนโดส (ดังรูป) แต่ ASPS ประเมินว่าหากต้องการบรรลุเป้าหมายการฉีด 100 ล้านโดสภายในปี 2564 ในช่วงที่เหลือของปีไทยจะต้องฉีดวัคซีนให้ได้เฉลี่ยวันละ 4.90 แสนโดส จึงจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งยังมีความท้าทายอยู่พอสมควร
ท่ามกลางความกังวล COVID-19 และการฉีดวัคซีนที่ท้าทาย ASPS จึงมองว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 2H64 จะต้องคาดหวังแรงส่งจากนโยบายเศรษฐกิจต่างเป็นสำคัญ

• นโยบายการเงิน: คาด กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำที่ 0.5% ตลอดไปจนถึงช่วง 2H65 เป็นอย่างน้อย เพื่อลดผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจ
• นโยบายการคลัง: วานนี้ ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ และแรงงาน วงเงินรวม 8.5 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้าเคยพิจารณาไว้ที่ 7.5 พันล้านบาท) เช่น ช่วยจ่ายเงินค่าจ้างแก่ลูกจ้าง 50% แต่ไม่เกิน 7,500 บาท/คน/เดือน, จ่ายเงินช่วยเหลือลูกจ้าง 2,000 บาท, จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการตามจำนวนลูกจ้าง คนละ 3,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ASPS มองมาตรการข้างต้น โดยเฉพาะมาตรการทางการคลังเป็นเพียงมาตรการการ”เยียวยา” จึงน่าจะช่วยเพียงบรรเทาผลกระทบของการระบาด เท่านั้น โดย ASPS เน้นให้น้ำหนักต่อมาตรการการ”กระตุ้นเศรษฐกิจ”ในช่วง 2H64 เป็นหลัก เช่น ยิ่งใช้ยิ่งได้ และคนละครึ่งเฟส 3 ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2564 เป็นต้นไป และเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นค้าปลีก (HMRO, DOHOME CRC, COM7, SPVI) และหุ้นกลุ่มห้างสรรพสินค้า (CPN, BJC)

วันนี้คาดจะเห็นกระแสบวกกับหุ้นเกี่ยวข้องกั ยานยนต์ไฟฟ้า ชอบ GPSC, PTT
รองนายก สุพัฒนพงษ์ เมื่อวานให้สัมภาษงานสัมมนาอุตสาหกรรมยานต์ยนต์ไทย กับเป้าหมาย ZEV ปี 2030 ซึ่งทางรัฐมนตรีเปิดเผยว่า ทางรัฐบาลตั้งคณะกรรมการยานต์ยนต์ไฟฟ้า กับเป้าหมาย Zero Emission Vehicle (ZEV) ปี 2030 เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยตั้งเป้าหมายผลิต EV 30% ในปี 2573 เพื่อให้ไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำในอนาคตตามทิศทางของโลก

ซึ่งนโยบายดังกล่าว ถือป็น sentiment เชิงบวกสำหรับผู้ประกอบการทางด้าน EV ในระยะยาวที่ภาครัฐจะค่อยๆทยอยมีความชัดเจนในแผนการก้าวสู่การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า โดยผู้ประกอบการที่ศักยภาพโดดเด่นที่จะก้าวสู่ธุรกิจยานยนต์ ฝ่ายวิจัยได้ให้น้ำหนักไปที่ GPSC (FV@82B) และ กับ PTT(FV@48.5B) โดยมีรายละเอียดดังนี้

PTT/GPSC – ล่าสุด PTT ลงนาม MOU กับ Hon Hai Technology Group (Foxconn) ซึ่งเป็นผู้นำด้าน technological solution provider ระดับโลก สัญชาติไต้หวัน เพื่อร่วมศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility study) ในการร่วมลงทุนสำหรับจัดตั้งโรงงานผลิต Platform และส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะได้ความชัดเจนภายใน 90 วันหลังจากนี้

โดยรูปแบบ Platform การผลิตจะเป็นในรูปแบบโครงสร้างฐานรถ และระบบขับเคลื่อนรถยนต์ 4 ล้อ (End to end ที่พร้อมใช้งาน) โดยถือเป็น hardware หรือฐานโครงสร้างของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตและขายรถยนต์ไฟฟ้าสามารถนำไปประกอบกับชิ้นส่วนอื่นๆ (model designed) เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในแบรนด์ของบริษัทนั้นๆได้

ซึ่ง platform ดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับลักษณะและขนาดของรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งช่วยลดระยะเวลาการผลิตรถยนต์ออกสู่ตลาดได้ โดยเป้าหมายตลาดของโครงการจะเป็นในประเทศไทยและใน ภูมิภาค ASEAN ทั้งนี้ประมาณการเงินลงทุนขั้นต้นที่ 1-2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นในส่วนของ platform การผลิตดังกล่าว

ส่วนธุรกิจแบตเตอรี่อิ่นๆ ยังเป็นไปตามแผนเดิมโดยมีโครงการนำร่อง (Pilot project) สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ 30.0 MWh พัฒนาร่วมกับบริษัท 24M Technologies เพื่อนำมาทดลองใช้ภายในกลุ่ม PTT โดยเน้นในการติดตั้งเพื่อใช้กักเก็บพลังงาน (energy storage) เป็นหลัก และหากมีผลลัพท์ที่ดี จะพัฒนาเป็นผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป

นอกจากนี้ GPSC ยังได้เข้าถือหุ้น 11.1% ในบริษัท AXXIVA ในประเทศจีน กำลังการผลิตแบตเตอรี่ 1.0 พัน MWh ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดจะแล้วเสร็จภายในปี 2564 และสามารถผลิตเชิงภาณิชย์ได้ภายในปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้กับอุตสาหกรรมกลุ่มยานต์ยนต์ไฟฟ้า โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักอยู่ในประเทศจีน ในเบื้องต้น ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมถึงประมาณการรายได้จากโครงการดังกล่าว

EA –มีเซ็นต์สัญญาลู้กค้าส่งมอบ E-BUS ราว 100 คัน โดยคาดจะเริ่มส่งมอบได้เดือนหน้า ส่วนโรงแบตเตอรี่ 1 พัน MWh คาดจะแล้วเสร็จในช่วง 3Q64 โดยเริ่มต้นจะนำไปใช้กับเรือไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันประกอบแล้วเสร็จ 8 ลำ และ E-Bus ที่คาดจะทยอยส่งมอบให้ครบ 400 คันในปีนี้

พร้อมตั้งเป้าขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 1พันสถานี จากปัจจุบัน 417 สถานี นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ผ่านบริษัทย่อย Amita Taiwan ( EA ถือหุ้นราว 70.0%) ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ประเภท Lithium-ion กำลังการผลิต 400 MWh โดยมีกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และรถสาธารณะในประเทศ

ทั้งนี้ยังมีผู้ประกอบการรายอื่นที่ลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ ได้แก่ BANPU/BPP แต่เป็นการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ในต่างประเทศผ่าน BANPU NEXT ซึ่งมีการลงทุน 47% ในในบริษัท Durapower Holdings Pte Ltd., ในประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต และติดตั้งระบบแบตเตอรี่จัดเก็บพลังงานแบบ Lithium-ion 1.0 พัน MWh เพื่อใช้ทั้งในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน

ซึ่งปัจจุบันได้ขยายกำลังการผลิตสู่ 380.0 MWh จากจุดเริ่มต้นที่ 80.0 MWh ส่วน BCPG เป็นการการลงทุนแบตเตอรี่ 1.4 MWh ที่นำมาใช้กับโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ควบคู่กับโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม

ยังไม่คาดหวัง Flow ต่างชาติ ไหลเข้า …หลังเงินบาทอ่อนค่ายืนเหนือ 32 บาท , Bond Yield ปรับลง
นับตั้งแต่ กลางเดือน มิ.ย.64 หลัง Fed ส่งสัญญาณชัดเจนจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ และเร็วขึ้นกว่าเดิม ส่วนในประเทศ ไทยเผชิญปัญหา Covid-19 ทั้งตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ที่ทรงตัวสูง , ผู้ป่วยอาการหนักสูงขึ้น, จำนวนเตียง ICU ไม่เพียงพอ ฯลฯ ทำให้เห็นเงินทุนจากต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้น สะท้อนจากเมื่อวานต่างชาติขายสุทธิ 429 ล้านบาท และนับตั้งแต่ต้นสัปดาห์-ล่าสุด (Wtd) ขายสุทธิ 1.28 พันล้านบาท (MTD) ขายสุทธิ 6.1 พันล้านบาท

โดยในวันนี้ ฝ่ายวิจัย ASPS ยังคงมุมมองเดิมยังไม่คาดหวังจะเห็น Flow ต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยจากปัจจัยดังกล่าว และปัจจัยกดดันจาก
▪ เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า ล่าสุด ทะลุและยืนเหนือ 32 บาทอยู่ที่ 32.1 บาท/ดอลลาร์ (สูงสุดในรอบ 1 ปี 1 เดือน) และยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้นักลงทุนต่างชาติมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่ม เป็นตัวกดดันให้ SET Index ขึ้นได้ไม่เต็มที่ และเป็นปัจจัยกดดัน Fund Flow จากต่างชาติ สะท้อนได้จากสถิติในอดีตตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน Fund Flow ที่ไหลออก กับเงินบาทที่อ่อนค่ามีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน
โดยตลอด 14 ช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนค่า Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยทุกครั้ง และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าทุกๆ 1% มักจะกดดันให้ Fund Flow ไหลออกเฉลี่ยราว 6.9 พันล้านบาท
แต่อีกทางหนึ่งเงินบาทที่อ่อนค่าดีต่อหุ้นส่งออก อาทิ NER (FV@9.5) , STA(FV@60.0), TU(FV@20.0), TFG(FV@6.2), CPF(FV@42.0), SAT(FV@24.0) โดยชื่นชอบ NER , TFG
อีกทางนึง พบว่าต่างชาตินำเงินไปพักที่สินทรัพย์ปลอดภัย และคาดยังมีโน้มต่อเนื่อง คือ พันธบัตรไทย สะท้อนได้จาก เมื่อวานต่างชาติซื้อสุทธิตราสารหนี้รวม 8 พันล้านบาท , นับตั้งแต่ต้นสัปดาห์-ล่าสุด (Wtd) ซื้อสุทธิ 1.1 หมื่นล้านบาท (MTD) ซื้อ 7.1 หมื่นล้านบาท
โดยรวมสรุป ในช่วงสั้นฝ่ายวิจัย ASPS ประเมินว่ายังไม่คาดหวังเงินหนุนตลาดหุ้นจากต่างชาติ ขับเคลื่อนตลาดหุ้นไทย โดยคาดว่าแรงหนุนจะยังเป็น นักลงทุนในประเทศ อาทิ รายย่อยและสถาบัน เป็นหลัก

Window Dressing ยังคาดหวังได้ แต่ดูเบากว่าปกติ แนะ GPSC, ADVANC, MCS
วานนี้ตลาดหุ้นไทยรีบาวน์กลับมา 12.2 จุด หลังจากปรับฐานลงมาติดต่อกันนานถึง 8 วัน ซึ่งแรงพยุงส่วนใหญ่น่าจะเกิดจากกลไกต่างๆ ที่ไม่ใช่เชิงพื้นฐาน อาทิ การเปลี่ยน Series ใหม่ของ SET50 Futures รวมถึงการทำ Window Dressing ของกองทุน สะท้อนได้จากวานนี้กองทุนซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.08 พันล้านบาท (สูงสุดเป็นอันดับ 3 ของเดือน) และซื้อติดต่อกันมาแล้ว 3 วัน (มูลค่ารวมราว 2 พันล้านบาท)

อย่างไรก็ตามการทำ Window Dressing ในปีนี้ดูจะเบากว่าปกติ สะท้อนได้สถิติย้อนหลัง 10 ปี เดือน มิ.ย. มักจะเป็นเดือนที่กองทุนซื้อสุทธิหุ้นไทยสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากเดือน ธ.ค. และมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยสูงถึง 8.6 พันล้านบาท แต่ปัจจุบันกองทุนยังขายสุทธิหุ้นไทยอยู่ 4.9 พันล้านบาท (มิ.ย.mtd) ส่วนหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งที่กองทุนนิยมสะสมในช่วงโค้งสุดท้ายของการทำ Window Dressing คือ BJC, GPSC, BDMS, ADVANC เป็นต้น

ดังนั้นด้วย Window Dressing ที่แผ่วกว่าปกติ กลยุทธ์เอาชนะตลาดที่ผันผวนเน้นเลือกหุ้น Defensive นอกจากจะมีแรงหนุนจากการทำ Window Dressing ยังมีปัจจัยเฉพาะตัวหนุนเพิ่มเติม อย่าง ADVANC (กำไรฟื้นดีกว่าคาด บวกกระแส Disney+Hotstar วันแรก) , GPSC (รับกระแสรถ EV และบาทอ่อน) และยังชื่นชอบหุ้น Defensive ขนาดกลางเล็ก อย่าง MCS (ปันผลสูง แนวโน้มกำไรดี ได้แรงหนุนจากบาทอ่อน) เป็น Toppick ในวันนี้

MCS (FV @ 21.90) เงินบาทอ่อนค่า ส่งผลดีต่อ MCS โดยจากการประเมิน Sensitivity Analysis ภายใต้สมมติฐานปัจจุบัน พบว่า การอ่อนค่าของเงินบาททุกๆ 1บาท/100 เยน จะทำให้กำไรสุทธิปี 2564 เพิ่มขึ้น 3.5% จากประมาณการปัจจุบัน โดยเบื้องต้นประเมินกำไรสุทธิ 2Q64 จะอยู่ในช่วง 250-300 ล้านบาท เติบโตไม่ต่ำกว่า15%YoY จากงานส่งมอบเป็นงานที่ให้ margin สูง อย่างโครงการ Toranomon และ Azabudai ซึ่งมีราคาขายเฉลี่ยเริ่มต้น 2.9 แสนเยน/ตัน

ADVANC (FV @ 220.00) Disney+ Hotstar เริ่มให้บริการแล้ววันนี้ คาดส่งผลให้ราคาหุ้นคึกคักขึ้น อีกทั้งคาดหวังฟื้นตัวได้ใน 2H64 จากผลบวก COVID คลี่คลาย, 5Gและช่องทางการเข้าถึงลูกค้าดีขึ้น ซึ่ง Fair Value ปัจุยันยังไม่รวม Upside ระยะยาวจากการเข้ามาช่วยต่อยอด GULF ผู้นำธุรกิจพลังงาน ภายหลังทำคำเสนอซื้อ INTUCHบริษัทแม่ของ ADVANC แล้วเสร็จ

GPSC (FV @ 82.00) รัฐบาลตั้งคณะกรรมการยานต์ยนต์ไฟฟ้า กับเป้าหมาย Zero Emission (ตามหัวข้อก่อหน้า) ถือป็น Sentiment เชิงบวกต่อ GPSC ที่มีศักยภาพโดดเด่นที่จะก้าวสู่ธุรกิจยานยนต์ อีกทั้งคาดทิศทางกำไรปกติงวด 2Q64 จะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจาก 1Q64 จากรายได้ขายไฟฟ้าให้กับทางภาครัฐ (EGAT) ที่คาดจะเพิ่มขึ้นรวมถึงค่า K-Factor ในกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่คาดจะปรับเพิ่มขึ้นตามช่วงฤดูกาล

- Advertisement -