Rebound ก่อน ที่เหลือค่อยว่ากัน / 1,355— 1,370

มุมมองตลาดหุ้นวันนี้

  • SET วันนี้ อิงบวกช่วงเช้า: คาดฟื้นตัวบวก แต่วอลุ่มอาจบาง จากสัปดาห์นี้ไทยเปิดทำการ 4 วัน จีนและญี่ปุ่นปิดทำการหลายวัน ทำให้ไทยอาจขาด Sentiment ภูมิภาค ส่วนแรงหนุนวันนี้ นำโดย 1) Sentiment บวกจากตลาดหุ้นสหรัฐทั้งสามตลาดในคืนวันศุกร์ ส่งผลต่อ Sentiment เอเชียเช้านี้ นำโดย Nasdag หลัง Microsoft, Intel และ Alphabet เผย EPS 1067 ที่ 2.94, 0.18 และ 1.89 ซึ่งดีกว่าคาด 2.82, 0.14 และ 1.51 ตามลำดับ รวมทั้ง FED สาขาแอตแลนต้าเผยคาดการณ์ GDPNow มองสหรัฐเติบโตจาก 1Q67 ที่ 2.7% สู่ 2Q67 ที่ 3.9% และรายจ่ายผู้บริโภค มี.ค. +0.8%m-m มากกว่าคาด +0.6%m-m 2) ทางฝ่ายคาดวันนี้ DELTA จะหนุนนำดัชนี และเป็น Sentiment บวกต่อกลุ่ม Tech ของไทย จากงบงวด 1Q67 ที่กำไรกว่า 4.3 พันลบ. (+19%y-y) จากธุรกิจที่เกี่ยวกับยานยนต์เติบโต และทางฝ่ายมองปีนี้ยังมีโอกาสเห็นรายได้โตทุกธุรกิจในมือ 3) แรงหนุนกลุ่มน้ำมัน จาก Baker Hughes รายงานแท่นขุดเจาะฝั่งอเมริกาเหนือสัปดาห์สิ้นสุด 19 เม.ย. ลดลง 15 แท่นสู่ระดับ 731 แท่น, ความกังวลอุปทานหลังอิสราเอลโจมตีเมืองราฟาห์ และคาดหวังอุปสงค์สูงขึ้น หลังนางเจเน็ต เยลเลน รมต.คลังสหรัฐมองเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่ง และอาจเพิ่มประมาณการ GDP ขึ้นตามเฟดแอตแลนต้า 4) แรงหนุนจากเก็งงบ 1Q67 แบบ Selective นำโดย Big Cap ทั้ง ADVANC, BEM และ TRUE และ 5) กลุ่มจับจ่ายใช้สอย ได้แรงหนุนจากการบริโภคข้ามเวลาในโครงการเงินดิจิทัล หลังรัฐบาลให้คำมั่นจะใช้จ่ายได้ปลายปี ทำให้ประชาชนอาจใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตั้งแต่ทราบข่าว ขณะที่แรงกดดันมีบ้างจาก แนวโน้มเฟดที่จะไม่เร่งรีบลดดอกเบี้ย หลัง ดัชนี PCE Price Index เดือน มี.ค. เพิ่ม 2.8%y-y มากกว่าคาด 2.6%y-y และบาททรงตัวในแดนอ่อนค่า บริเวณ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ กดดัน Fund-flow สำหรับวันนี้ติดต่ามตัวเลขส่งออกไทยเดือน มี.ค.
  • กลยุทธ์การลงทุน : 1) เครื่องดื่ม: COCOCO, ICHI, MALEE, SAPPE, TACC 2) กลุ่มธนาคาร: KBANK, KTB, TTB 3) บาทอ่อนหนุนส่งออก: AAI, GFPT, ITC, TFG 4) เก็งงบ 1Q67: ADVANC, BEM, BTG, INTUCH, TRUE 5) Defensive: BDMS, BCH, PR9

ปัจจัยบวก

  • Agoda เผยข้อมูลการค้นหาก่อนถึงช่วง Golden Week (29 เม.ย. – 6 พ.ค.67) พบว่าชาวญี่ปุ่นสนใจเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไทยติดอันดับ 2 จุดหมายปลายทางต่างประเทศยอดนิยมในกลุ่ม
    นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น
  • ตามที่สมาคมธนาคารไทย (TBA) เห็นความจำเป็นออกมาตรการช่วยเหลือ ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง และ SME ทำให้ธนาคาร BBL และ GHB เริมนำร่องลดดอกเบี้ยเงินกู้ MRR ลง 0.25% มีผลตั้งแต่ 29 เม.ย. และ 1 พ.ค. ตามลำดับ
  • ราชกิจจาฯ ระบุว่า พรบ.งบประมาณรายจ่ายปี 67 ได้รับการโปรดเกล้าฯ แล้ว ด้วยวงเงิน 3.48 พันลบ. เป็นแรงหนุนต่อโครงการใช้จ่ายภาครัฐ เป็นบวกต่อกลุ่มรับเหมาฯ และการจับจ่ายใช้สอย
  • คันทรี การ์เดน ตั้งเป้าที่จะนำเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้เบื้องต้นต่อกลุ่ม ผู้ถือหุ้นกู้เฉพาะกิจในเดือนมิ.ย.เป็นอย่างเร็วเพื่อขอเจรจา และจะเผยแพร่แผนดังกล่าวต่อกลุ่มเจ้าหนี้ในวงกว้างในไตรมาสที่สาม

ปัจจัยลบ

  • สถาบันเศรษฐกิจเยอรมนี (IW) เผยเศรษฐกิจที่อ่อนแอของเยอรมนีเริ่มส่งผลต่อตลาดแรงงาน โดยระบุว่าการว่างงานจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับเฉลี่ยที่ต่ำกว่า 2.8 ล้านคนเพียงเล็กน้อยในปีนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 58
  • JP Morgan รายงานว่า ประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐไตรมาส 1Q67 ยังไม่ฟื้นตัว หลังจากที่ปรับตัวลดลงกว่า 3% ในเดือนที่ผ่านมา ทำให้มองว่าคาดการณ์กำไรสำหรับปี 2024 ของบริษัทจดทะเบียนก่อนหน้านี้จะสูงเกินไป
  • ก.คลังเผยจัดเก็บรายได้รัฐครึ่งแรกของปีงบประมาณ 67 ที่ 1.16 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าคาดการณ์ 2.3% จากมาตรการลดภาษีน้ำมัน ทำให้สรรพสามิตจัดเก็บภาษีรถยนต์ได้ต่ำกว่าเป้า
  • จีนอนุมัติกฎหมายภาษีศุลกากร (Tariff Law) เพื่อส่งสัญญาณอย่าง ชัดเจนไปยังคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดว่าจีนพร้อมที่จะตอบโต้ หากบรรดาคู่ค้ากำหนดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีน ขณะที่สหรัฐและ EU กำลังวิพากษ์วิจารณ์จีนเกี่ยวกับกำลังการผลิตด้านอุตสาหกรรมที่มากเกินไป

PICKS OF THE DAY

ITC BUY

  • เป้าหมาย 23.00 / 24.00 แนวรับ 21.50
  • เก็งงบ ITC: คาดการณ์งบ 1Q67 ที่จะประกาศในวันพฤหัสฯ ที่ 2 พ.ค. 67 จะมีกำไรเติบโต y-y โดดเด่น จากลูกค้ารายใหญ่กลับมาสั่งซื้อเป็นปกติ ปรับรูปแบบสินค้าทำให้ขายสินค้า Premium product ได้ดีขึ้น และได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนและราคาต้นทุนทูน่าที่ลดลง
  • เห็นภาพ 1H67 เติบโตโดดเด่น: ผู้บริหารแจ้งเห็น Backlog ถึงเดือน พ.ค. ภาพการขายปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องทุกเดือนตั้งแต่ต้นปี มองแนวโน้ม 2Q67 อาจเห็นรายได้เติบโตต่อเนื่อง หากเทียบกับช่วง 1H66 ที่อ่อนตัวจากภาวะลดระดับสต๊อกของลูกค้า จะทำให้ 1H67 เห็นการเติบโต y-y ที่โดดเด่น

KBANK BUY

  • เป้าหมาย 132.00 / 138.00 แนวรับ 125.00
  • อัตราดอกเบี้ยยังไม่ปรับลดลง: จะได้ประโยชน์จากการที่อัตราดอกเบี้ยยังทรงตัว ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนสินเชื่อของ KBANK ยังทรงตัวอยู่ได้
  • คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้นต่อเนื่อง: ใน 1Q67 KBANK ยังสามารถรักษาระดับ NPL ไว้ได้ที่ 3.19% เท่ากับไตรมาสก่อน ในขณะที่ธนาคารที่เหลือส่วนใหญ่มี NPL เพิ่มสูงขึ้นใน ไตรมาสนี้ และการได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นต่าง ๆ ของรัฐบาลน่าจะช่วยให้ความ สามารถในการชำระหนี้ของกลุ่ม SME ซึ่งเป็นสินเชื่อหลักของ KBANK มีสูงขึ้น และทำให้ผลตอบแทนสินเชื่อดีขึ้น และการตั้งสำรองลดลง
- Advertisement -