บล.พาย:
HANA: อุปสงค์ EV ที่แข็งแกร่งจะชดเชยกลุ่มสมาร์ทโฟนที่ลดลง
การประชุมนักวิเคราะห์ให้น้ำหนักไปทางลบ คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 57.50 บาท อิง 21.3xPE’22 หรือ +1SD ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี การปรับลดมูลค่าพื้นฐานและประมาณการปี 2022 ลง 6% เมื่อวันที่ 13 พ.ค. ได้สะท้อน ปัจจัยลบเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และปริมาณการผลิตที่ลดลงในโรงงานจีนแล้ว
- คาด 2Q22 แตะจุดต่ำสุดของปี เพราะยอดขายที่ลดลงจากปริมาณการผลิตในโรงผลิตจีนที่ลดลง 25% แนะนำทยอยสะสมหุ้น เพราะมีราคาน่าดึงดูด ก่อนที่จะมีกำไรฟื้นตัวใน 2H22
- คาดกำไร 2H22 จะฟื้นตัวขึ้นจากการขยายตัวของอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่ได้อานิสงส์จากส่วนแบ่งรายได้จากกลุ่ม SiC (ยังมีผลขาดทุนขั้นต้น) และส่วนผสมผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นในโรงผลิต IC ในไทย ขณะที่คาดว่ายอดขายจะโตปานกลางจากอุปสงค์ที่มีอย่างต่อเนื่องในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
- เชื่อว่าอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในกลุ่ม EV และยอดสั่งซื้อที่มีเข้ามาต่อเนื่องจะชดเชยผลกระทบจากการส่งมอบสมาร์ทโฟนที่ลดลงในปี 2022 ได้ และคาดว่าอุปสงค์ในกลุ่มสมาร์ทโฟนจะอ่อนตัวเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะกระแส 5G จะโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องไปจนถึงปี 2025
การผลิตของ HANA ในจีนจะปรับลดลง 25% จนถึง 3Q22
การผลิตสมาร์ทโฟนได้รับผลกระทบจากประเด็นห่วงโซ่อุปทานในปี 2022 CEO ของบริษัทคาดว่าการส่งมอบสมาร์ทโฟนในตลาดโลกจะโตเพียง +5%YoY ในปี 2022 ต่ำกว่าคาดการณ์ในช่วงก่อนที่จะมีสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้ที่ +14% YoY โดยแบรนด์หลักๆ อย่าง Vivo และ Xiaomi ต่างทำการปรับลดแผนการผลิตปี 2022 ลง 20% ไปแล้ว สืบเนื่องจากปัญหาทางห่วงโซ่อุปทานและอุปสงคผู้บริโภคในจีน อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่ารายได้ 2Q22 จะลดลง QoQ และค่อยๆ ฟื้นตัวใน 3Q22 โดยแม้ว่าจะมีภาพรวมเป็นลบแต่คาดว่าการส่งมอบสมาร์ทโฟนในตลาดโลกจะโตขึ้น ขณะที่ปริมาณการผลิตที่จำกัดของบริษัทนั้นมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ซึ่งคาดว่าจะมีสถานการณ์ดีขึ้นหลังเดือน มิ.ย. 2022 เมื่อมีการคลายล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้
การหดตัวลงของตลาดสมาร์ทโฟนโลกเป็นเพียงสภาวะระยะสั้น บริษัทจะยังได้ประโยชน์จากแนวโน้มระยะยาวที่ผู้บริโภคจะทำการอัปเกรดเป็นอุปกรณ์ที่รองรับ 5G ซึ่งมักจะเป็นแบรนด์จากจีน เช่น Xiaomi, Oppo และอื่นๆ ข้อมูลจาก GSMA ประเมินว่า 5G จะเป็นช่องทางการเชื่อมต่อของลูกค้าทั่วโลกที่คิดเป็น 25% จากทั้งหมดภายในปี 2025 (2021: 8%)
อุปสงค์ในกลุ่ม EV ยังโตต่อเนื่องแม้อยู่ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ การขาดแคลนซิป และราคาที่สูงขึ้น
ยังคาดว่าธุรกิจยานยนต์ของบริษัทจะโตขึ้นในปี 2022 แต่ผู้บริหารยังมีมุมมองระมัดระวัง ลูกค้าหลักในกลุ่มยานยนต์ของบริษัทอย่าง Sensata ยังคาดถึงการเติบโตหลักหน่วย แม้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของผู้บริโภคจะสูงขึ้น รวมถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อต่อระดับอุปสงค์ผู้บริโภค และต้นทุนนิกเกิลและโคบอลต์ที่สูงขึ้น ทั้งนี้ การเติบโตที่แข็งแกร่งและมั่นคงในตลาด EV ทั่วโลกช่วง 1Q22 คือสัญญาณที่บ่งชี้ถึงทิศทางของกลุ่ม EV ที่ยังมั่นคง ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่าธุรกิจ PCBA ในไทยของบริษัทจะเติบโตต่อเนื่องในปี 2022
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารยังไม่ได้เปิดเผยกลยุทธ์ในการรับมือกับกรณีที่กลุ่ม EV เผชิญกับทิศทางขาลง แต่เมื่อดูจากบทบาทการเติบโตของกลุ่ม EV ที่มีความสำคัญต่อการเติบโตด้านรายได้ของบริษัท จึงคาดว่าถ้าธุรกิจยานยนต์ชะลอตัวลงก็อาจฉุดกำไรปี 2022 ลงได้ แต่ในระยะยาวยังคาดว่าอุปสงค์ EV จะมีทิศทางขาขึ้น เพราะรัฐบาลในหลายประเทศมีคำสั่งให้กลุ่มบริษัททยอยโละยานพาหนะระบบก๊าซลงภายใน 20 ปี และแทนที่ด้วย EV
กลุ่ม SiC อาจเริ่มการผลิตขนานใหญ่ได้ในช่วงต้น 4Q22
กลุ่มธุรกิจ SiC คืบหน้าตามกำหนดการ แต่จะไม่มีผลสำคัญต่อกำไรจนกว่าจะถึงปี 2024 มีการผลิตอุปกรณ์ MOSFET ชิ้นแรกแล้ว และจะนำไปประเมินผลในช่วง 2Q22-3Q22 โดยคาดว่ากลุ่มธุรกิจนี้จะเริ่มการผลิตขนานใหญ่ได้ใน 4Q22 และคาดว่าจะสร้างส่วนแบ่งกำไรได้อย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป แต่จะยังมีส่วนแบ่งที่ไม่สำคัญต่อรายได้ และกำไรในปี 2022-23 เพราะคาดว่าธุรกิจ SiC จะมีส่วนแบ่งรายได้ที่ 3% ในปี 2022 6% ในปี 2023 และ 11% ในปี 2024
กลุ่มธุรกิจ SiC จะมีอุปสงค์ที่ยอดเยี่ยมในระยะยาวจากกระแส EV และคาดว่าจะเผชิญกับการแข่งขันระดับสูงในจีน ชิ้นส่วนใน EV โดยทั่วไปมีความต้องการใช้ไดโอด SiC มากกว่ารถยนต์ระบบก๊าซปกติ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะหลายประเทศอย่างเช่น จีน ได้มีการกำหนดนโยบายจากทางรัฐบาลให้ทยอยลดการผลิตรถยนต์ระบบก๊าซทั้งหมดภายในปี 2035 ปัจจัยนี้เองที่อาจช่วยบริษัทในการชดเชยผลกระทบจากวัฏจักรขาลงในธุรกิจ PCBA (หลักๆ คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าผู้บริโภค) นอกจากนี้ CEO ได้ยืนยันว่าอุปกรณ์ SiC ของบริษัทนั้นมีคุณภาพสูง ส่วนอุปกรณ์จากโรงงานในจีนมีคุณภาพต่ำกว่า
สรุปผลประกอบการ 1Q22
- กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 365 ล้านบาท (+21% YoY) โตขึ้น YoY จากผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนที่น้อยลงเมื่อเทียบกับ 1Q21 ขณะที่พลิกเป็นกำไรในเชิง QoQ จากค่าใช้จ่ายพิเศษที่น้อยลง (ค่าการปรับคลังสินค้า 243 ล้านบาทใน 4Q21)
- ยอดขายอยู่ที่ 6.1 พันล้านบาท (+17%YoY, ทรงตัว QoQ) กลุ่ม PCBA หนุนการเติบโตในเชิง YoY ส่วนการทรงตัวในเชิง QoQ เป็นผลจากยอดขายที่ทรงตัวเพราะการปรับตัวลดลงของกลุ่ม PCBA ในจีน ได้รับการชดเชยจากการเติบโตของกลุ่ม PCBA ในไทย ขณะที่คาดว่าธุรกิจ PCBA ในจีนจะปรับลดลง เพราะโรงงานอยู่ใกล้เซี่ยงไฮ้ที่มีการล็อกดาวน์ตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. 2022
- อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) อยู่ที่ 10.8% (-1.ppts YoY, -0.1ppts QoQ) ที่หดตัวลง YoY เป็นผลจากค่าโสหุ้ยคงที่ในหน่วย SiC ใหม่ในเกาหลีใต้ที่ปรับสูงขึ้น ขณะที่ประเมินว่าการล็อกดาวน์ในเซี่ยงไฮ้ก็มีส่วนที่ฉุด GPM ลงเช่นกัน
- ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) เพิ่มขึ้น QoQ และ YoY จากค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนา (R&D) และค่าแรงที่สูงขึ้น สำหรับ SG&A ต่อยอดขายอยู่ที่ 6.2% ใน 1Q22 6.0% ใน 1Q21 และ 5.8% ใน 4Q21
Revenue breakdown
การประกอบแผงวงจรพิมพ์ (PCBA) สร้างรายได้เป็นสัดส่วน 57% ของรายได้รวม โดยธุรกิจนี้ เกี่ยวข้องกับการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนแผงวงจรพิมพ์ และบริษัทยังให้บริการการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ชิปบนบอร์ด (COB) รวมถึงผลิตภัณฑ์รับส่งคลื่นความถี่วิทยุ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
บริษัทให้บริการการประกอบและทดสอบแผงวงจรรวม (IC) สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ IC ชนิด QFN, QFN, DFN, LGA, MSOP, SC, SOT และ TSOT รวมถึงไฟ LED สำหรับไฟส่องสว่างในยานยนต์ เมาส์เลเซอร์ อุปกรณ์แปลงไฟฟ้า DC-DC และผลิตภัณฑ์ใยแก้วนำแสง ซึ่งธุรกิจกลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วน 39% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท
บริษัทผลิตผลึกเหลวที่ใช้สำหรับเคลือบแผ่นซิลิกอนบนอุปกรณ์ “LCOS” ที่ใช้หน้าจอไมโครดิสเพลย์ (microdisplay) และส่วนประกอบด้านการสื่อสารด้วยแสง อีกทั้งบริษัทยังผลิต RFID ซึ่งกลุ่มนี้มีคิดเป็นสัดส่วน 4% ของรายได้ทั้งหมด