รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน

เพิ่มเงินสดพอร์ตจำลองจาก 20% เป็น 25%
Top Pick เลือก AS, BDMS และ BLA
การประกาศให้หยุดกิจกรรมเศรษฐกิจบางประเภท เฉพาะอย่างยิ่งภาคการก่อสร้าง และ ร้านอาหาร ในกลุ่มจังหวัดสีแดงเข้ม ถูกประเมินว่าจะสร้างผลกระทบในทางลบไปยังหลายอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ขณะที่มีส่วนทำให้มาตรการพยุงเศรษฐกิจที่เพิ่งประกาศออกมาได้ไม่นานอย่าง คนละครึ่ง หรือยิ่งใช้ยิ่งใด้ ถูกลดทอนผลบวกลงไป ภาพรวมถือว่าทำให้ระดับความเสี่ยงในเชิงเศรษฐกิจ และการลงทุนในตลาดหุ้นสูงขึ้น ซึ่งจะถูกกดดันให้ขาดเม็ดเงินใหม่ที่จะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นในช่วงเวลานี้ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจมากขึ้นจากนี้คงเป็นพัฒนการของ Covid-19 ในประเทศแง่มุมต่างๆ

คาด SET Index ปรับลดลงโดยบริเวณ 1580 จุด จะกลายเป็นแนวต้าน พอร์ตจำลองให้เพิ่มเงินสดจาก 20% เป็น 25% โดยลดน้ำหนักหุ้นเปิดเมือง ผ่านการขาย BEM น้ำหนัก 10% ออกและเข้าซื้อ AS ด้วยน้ำหนัก 5% ส่วนหุ้น Top Pick เลือก AS, BDMS และ BLA

รัฐสั่งปิด แคมป์คนงาน, ให้สั่งอาหารกลับบ้าน กระทบตลาดหุ้น
ผลจากสถาการณ์การระบาด COVID-19 มีแนวโน้มน่ากังวล เนื่องจาก
“จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ (New case) เพิ่มขึ้นสูงกว่าจำนวนผู้รักษาหาย (Recovered case) อย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้จำนวนผู้ติดเชื้อที่ระหว่างรักษา (Active case) กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง (ดังรูป) และล่าสุด เมื่อเช้านี้ พบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 5,406 ราย แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือน พ.ค. 2564 ที่ 5,485 ราย จึงส่งผลกระทบมายังอัตราครองเตียงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอัตราครองเตียงในเขต กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ 81% ส่วนทางด้านความคืบหน้าการฉีดวัคซีน แม้จะยังสามารถเดินหน้าได้ แต่นับว่าค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่า

สถานการณ์ข้างต้น ทำช่วงวันหยุดเสาร์- อาทิตย์ภาครัฐจำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวดอีกครั้ง สะท้อนจากราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่มาตรการควบคุมการระบาดชุดใหม่ ในพื้นที่ กทม., นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 2564 ถึง 27 ก.ค.2564 (30 วัน) หลักๆ คือ

• ปิดสถานที่พักแรงงานก่อสร้าง
• ร้านอาหารให้เปิดเฉพาะการสั่งกลับบ้านเท่านั้น
• ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า Community mall เปิดได้ไม่เกิน 21.00
• งดจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเกิน 20 คน

ฝ่ายวิจัย ASPS ประเมินผลกระทบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ คาดจะทำให้อนาคตน่าจะลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้ แต่ในช่วง 3Q64 จะกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย และตลาดหุ้น และสร้าง Downside คือ

1. เศรษฐกิจไทย ASPS ประเมิน จะทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจในงวด 3Q64 ชะลอตัวลง และส่งผลให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในงวด 3Q64 เช่น ยิ่งใช้ยิ่งได้ และคนละครึ่งเฟส 3 มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจลดลง เพราะช่องทางการใช้จ่ายของประชนจะถูกจำกัดมากขึ้น และอาจการเพิ่มความท้าทายต่อแผนการเปิดประเทศภายใน 120 วันของรัฐได้เช่นกัน โดยประเมิน 10จังหวัดที่ Lockdown ข้างต้นมีสัดส่วน GDP รวมกันราว 49.2% ของทั้งประเทศ

เบื้องต้น พบว่าการ Lockdown จะกระทบต่อ GDP รวมทั้งประเทศประมาณ 1.52% (ดังตาราง) คาดว่าจะส่งผลให้ GDP ไทย งวด 2-3Q64 ชะลอตัวลงในและมีโอกาสติดลบทั้ง %qoq และ %yoy ก่อนที่จะไปฟื้นงวด 4Q64 เนื่องจากฐานนงวด 3Q63 ที่ค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า GDP น่าจะไม่ชะลอไปมากเท่าปี 2563 เนื่องจากในปีนี้ภาคส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นธปท คาดขยายตัวทั้งปี 2564 ที่ 17% อาจมาช่วยหักล้างการชะลอตัวลงของ GDP ปี 2564 ได้ในบางส่วน

2 ตลาดหุ้นไทย คาดวันนี้มีโอกาสปรับฐาน รวมถึงกลุ่มหุ้นที่ได้รับผลกระทบ ตามรายละเอียดด้านล่าง

(-) หุ้นที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุม 10 จังหวัด ตั้งแต่ 28 มิย เป็นต้นไป ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง : ได้รับผลกระทบคำสั่งปิดสถานที่ก่อสร้าง แคมป์คนงานและหยุดงานก่อสร้างใน กทม. และปริมณฑล 1 เดือน ส่งผลลบโดยตรงต่อทั้งผู้รับเหมารายใหญ่อย่าง ITD,CK,STEC,UNIQ รายกลางอย่าง NWR,SYNTEC,PREB และผู้รับเหมาเสาเข็มอย่าง SEAFCO และ PYLON ถือเป็นปัจจัยลบที่เข้ามาซ้ำเติมปัญหาเหล็กเส้นราคาแพงที่กำลังเผชิญอยู่ และยังมีผลต่อเนื่องไปตลอด Supply Chain ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างรวมถึงผู้ว่าจ้างที่เป็นเจ้าของโครงการ

**แต่จะไม่กระทบกับบริษัทรับเหมาอย่าง TTCL, STPI, BJCHI, SRICHA และ SQ ที่ทำงานอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 1.5 เดือน เนื่องจากคนงานบางส่วนได้เคลื่อนย้ายออกจากแคมป์คนงานทันทีในช่วงวันศุกร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา และจะไม่กลับเข้ามาทำงานจนกว่าจะมีความมั่นใจว่าสถานการณ์ได้คลี่คลายลงแล้วจริงๆ ประเมินผลกระทบเป็น 2 ส่วนหลัก คือ

ผลกระทบด้านรายได้ จะเกิดขึ้นทันทีในช่วง 3Q64 โดยบริษัทที่มี Backlog ในพื้นที่กทม. และปริมณฑล สัดส่วนสูงกว่าก็จะได้รับผลกระทบมากกว่า จากผลการวิเคราะห์พบว่า CK,SYNTEC จะได้รับผลกระทบสูงที่สุด เนื่องจากงานในมือปัจจุบันมากกว่า 80-90% อยู่ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล รวมไปถึงผู้รับเหมาเสาเข็มอย่าง SEAFCO และ PYLON ที่งานเกือบทั้งหมดก็อยู่ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลเช่นเดียวกัน ขณะที่ NWR ได้รับผลกระทบสูงรองลงมา โดยมีสัดส่วน Backlog ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล 66% ส่วน STEC และ ITD ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเพราะมีสัดส่วน Backlog ในพื้นที่กทม. และปริมณฑลประมาณ 47% และ 17% ตามลำดับ

ผลกระทบด้านต้นทุน เกิดจากความล่าช้าในงานก่อสร้าง แม้บริษัทรับเหมาก่อสร้างอาจได้รับการขยายเวลางานก่อสร้างจากผู้ว่าจ้าง แต่จะไม่ได้รับเงินชดเชยที่เกิดจากระยะเวลาการก่อสร้างที่นานขึ้น เช่น ค่าโสหุ้ย ค่าเช่าอุปกรณ์เครื่องจักรและค่าแรงคนงานที่ต้องจ่ายนานขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหา Cost Overrun จากการต้องทบทวนประมาณการต้นทุนงานก่อสร้างเพิ่มขึ้น โดยบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มี Net Profit margin เฉลี่ยต่ำมากอย่าง ITD,NWR จะมีความสามารถในการรองรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มได้ต่ำกว่า CK และ STEC

ผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างทั้งด้านรายได้และอัตรากำไร หากต้องหยุดธุรกิจเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน มีความเสี่ยงสูงที่ฝ่ายวิจัยจะปรับลดประมาณการกำไรปีนี้ของบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่างๆลง ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจนและเต็มไปด้วยปัจจัยลบ ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาด แต่สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้มากขึ้นแนะนำ ซื้อ STEC (FV@B 18) ที่มีพื้นฐานมั่นคงที่สุดในบรรดาบริษัทรับเหมาฯรายใหญ่

กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย : กระทบจากมาตรการปิดแคมป์คนงาน เนื่องจากต้องหยุดก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย ทั้งแนวราบ และคอนโดฯ ซึ่งอาจส่งผลให้การส่งมอบโครงการล่าช้ากว่ากำหนด แต่อย่างไรก็ดีหากการปิดชั่วคราว 1 เดีอน เชี่อว่าผู้ประกอบการจะยังสามารถจัดการ และบริหารงานก่อสร้างได้ และปกติตามสัญญาการส่งมอบโครงการ โดยเฉพาะคอนโดฯ จะมีการเผื่อเวลางานก่อสร้างในสัญญาไว้ราว 2 เดีอน และส่วนใหญ่จะเสร็จก่อนกำหนด แต่กรณีหากเกิดปัญหาจริง อาจใช้คำสั่งของภาครัฐ ในการอธิบายต่อลูกค้าถึงปัญหาความล่าช้า เพี่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้องได้

ภายใต้สถานการณ์ปิดแคมป์ แม้กระทบต่อก่อสร้างโครงการใหม่ แต่ในการขายและโอนอาจไปเน้นระบายสต๊อกโครงการเดิมที่ก่อสร้างเสร็จแล้วแทน โดย ณ 1q64 ผู้ประกอบการยังมีสต๊อกคอนโดที่สร้างเสร็จแล้วราว 1 แสนล้านบาท

เบี้องต้น กลุ่มอสังหา ใน coverage ได้แก่ ANAN, AP, ASW, LPN, LH ,NOBLE, PSH
QH, ORI, SIRI, SC, SPALI, SENA

กลุ่มห้างสรรพสินค้า กระทบต่อ CPN, SF แม้ไม่ได้มีผลต่อยอดขายโดยตรง เพราะโครงสร้างรายได้หลักอยู่ในรูปแบบรายได้ค่าเช่า แต่การปิดห้างเร็ว และร้านอาหารห้ามรับทานในร้าน ย่อมกระทบต่อ traffic และ การให้ส่วนลดค่าเช่าแก่ร้านค้ายังมีอยู่ต่อเนี่อง

กลุ่มค้าปลีก ประเมินผลกระทบจำกัด และไม่เปิด Downside ต่อประมาณการอย่างมีนัยในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบระยะสั้นจากมาตรการที่ 1 คือ กลุ่มร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง DOHOME, HMPRO (Mega Home 10% ของยอดขายรวม) และ CRC (ไทวัสดุ ราว 15%ของยอดขายรวม) ซึ่งน่าจะได้รับผลกระทบจากการหยุดงานก่อสร้าง จากการรวบรวมสัดส่วนรายได้เบื้องต้น เป็นสัดส่วนรายได้ในพื้นที่กรุงเทพ ปริมณฑล และรายได้จากกลุ่มสินค้าวัสดุก่อสร้าง ต่อยอดขายรวม (ดังตาราง) จะพบว่าเบื้องต้น DOHOME มีสัดส่วนยอดขายจากพื้นที่ + กลุ่มสินค้าดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนสูงสุดราว 18% ส่วน HMPRO และCRC ไม่มีนัยฯ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าน่าจะคาดหวัง Pent-up demand จากการกลับมาเร่งงานก่อสร้างเพื่อชดเชยได้บางส่วน จึงยังคงประมาณการเดิมไว้ก่อน

ขณะที่มาตรการที่ 2 ปิดห้าง นับจาก 21.00 น. ประเมินเป็น Sentiment ลบต่อ CRC, HMPRO, ILM, BJC, MAKRO, COM7 และ SPVI รวมถึง CPALL ที่ถือหุ้นใน MAKRO (ถือ
หุ้น 93.08%) และไฮเปอร์มาร์เก็ต Lotus (ถือหุ้น 40%) แต่เชื่อว่าผลกระทบจะยังจำกัดเนื่องจากช่วงเวลาที่ต้องปิดเร็วขึ้นไม่ใช่ช่วงที่มีปริมาณผู้ใช้บริการสูง รวมถึงช่วงเวลาที่เปิดบริการได้ ยังให้บริการทุกแผนกตามปกติ ขณะที่ร้านสะดวกซื้อยังสามารถให้บริการ 24 ชั่วโมงตามเดิม ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยศึกษา Sensitivity analysis ของ SSSG ที่ลดลง 1% จะกระทบต่อกำไรเฉลี่ยราว 1%-3% โดยรายที่ฐานธุรกิจเล็ก อาทิ SPVI DOHOME จะกระทบสูง ขณะที่รายใหญ่ อาทิ HMPRO, BJC, CPALL, MAKRO จะกระทบน้อย

ภาพรวมเชื่อว่าอาจเห็นแรงกดดันต่อราคาหุ้นวันนี้ จากแนวโน้มมาตรการที่เข้มงวดขึ้น + การระบาดที่ยังมีผู้ติดเชื้อในประเทศสูงต่อเนื่อง แต่ประเมินผลกระทบต่อกำไรปัจจุบันยังค่อนข้างจำกัด จึงประเมินเป็นโอกาสทยอยซื้อสะสม หลังราคาตอบรับประเด็นดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังเห็นการเติบโตของกำไรที่สูงรองรับ SPVI, COM7 และ DOHOME

(+) หุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการควบคุม 10 จังหวัด ตั้งแต่ 28 มิย เป็นต้นไป

กลุ่มถุงพลาสติก ASPS ประเมินจะได้ประโยชน์จากมาตรการไม่ให้กินที่ร้าน ต้องสั่งกลับบ้าน จะทำให้กล่องใส่อาหาร บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร จะได้ประโยชน์ ถือจะเป็นบวกต่อ หุ้น SCGP(FV@ 65.0) ซึ่งมีรายได้จาก Food Packaging ราว 4% , หุ้น TPLAS (ฝ่ายวิจัยไม่ได้ทำการศึกษา) และหุ้น EPG (ฝ่ายวิจัยไม่ได้ทำการศึกษา)

กลุ่มโรงพยาบาล : ประเมินได้ปัจจัยบวกจากการให้บริการตรวจ และรักษา Covid เพิ่มขึ้นมากขึ้น คือ BCH(FV@ 65.0) , CHG(FV@ 65.0), BDMS(FV@ 65.0)

ธุรกิจเกมส์หลักๆ คือ AS(FV@ 15.0) ประเมินได้ปัจจัยบวกจากประชาชนอยู่บ้านไม่ได้ไปไหน โดยเฉพาะวัยรุ่น คาดจะเล่นเกมส์มือถือ และ Commputer มากขึ้น ซึ่งแนวโน้มการเติบโตอุตสาหกรรมเกมออนไลน์โดยเฉพาะเกมบนมือถือมีการเติบโตชัดเจน และ AS ทิศทางกำไรเป็นขาขึ้นโดยเฉพาะครึ่งปีหลังที่มีเกมเปิดใหม่

แนวรับสำคัญจากประเด็นมาตรการควบคุม 150 จุด แนะ BLA BDMS AS

มาตการคุมเข้ม COVID-19 ที่กินระยะเวลากว่า 34 วัน เข้ามากระทันหันในช่วงวันหยุดถือว่ากระทบต่อหุ้นหลายบริษัท (ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนหน้า)

ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงทำการค้นหา Downside ของตลาด ทั้งจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค และจากพฤติกรรมในอดีตในช่วงที่มีมาตรการควบคุม 10 จังหวัด คือ

ในมุมมองทางเทคนิค นักวิเคราะห์ของเราประเมินแนวรับที่สำคัญของ SET Index ที่ 1582 จุด (เส้น EMA 12 Week) ถ้าหลุดมักจะลงมาทดสอบที่เส้น EMA 200 Week แล้วดีดกลับขึ้นไปเสมอ ดังนั้น SET Index มีแนวรับสำคัญทางเทคนิคอยู่ที่ 1510 จุด

ในมุมมองจากพฤติกรรมในอดีตในช่วงที่มีการ Lockdown คือ ในอดีตช่วงที่มีการประกาศ Lockdown SET Index มักจะปรับฐานลงแรง ในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะฟื้นกลับ โดยเดือน ธ.ค. 63 ประกาศ Lockdown สมุทสาคร SET Index ลดลง 6.3% และถัดมา ในช่วงกลางเดือนเม.ย. 64 มีมาตรการคุมเข้มแบ่งเป็นโซนสีต่างๆ SET Indexลดลง 4.8% ดังนั้น SET Index มีโอกาสย่อตัวจากประเด็นดังกล่าวราว 4-6% (ใกล้เคียง 1510 จุดพอดี)

สรุปคือ แนวรับสำคัญของ SET Index ไม่ว่าจะเป็นในมุมมองทางเทคนิคหรือตามพฤติกรรมการ Lockdown อยู่บริเวณ 1510 จุด หรือถ้าลงมาใกล้เคียงและเริ่มฟื้นกลับก็แนะนำให้เข้าสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งได้ เชื่อว่ามีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดี เนื่องจาก SET Index มักถูกกดดันแรงจากประเด็นนี้ แต่ก็กินระยะเวลาไม่นาน

กลยุทธ์การลงทุนเน้นหลบเลี่ยงความผันผวนในประเทศ โดยเลือกหุ้นที่เสริมอาวุธป้องกัน COVID-19 อย่าง BLA (Bond Yield ระยะยาวฟื้น), BDMS (กระแสการตรวจ COVID-19) และ AS (กระแส Play at Home) เป็น Toppicks ในวันนี้

- Advertisement -